sak yant

สัก ยันต์, อาจารย์สัก, วิชาอาคม, ยันต์ทุกชนิด, ยันต์ตะกรุด, เสื้อยันต์, ผ้ายันต์ พระเครื่องง คงกรัพันชาตรี, ไสยศาสตร์, พุทธคุณ เกจิอาจารย์ พระฤษี108น สัตว์หิมพานต์ รามเกียรติ์

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิดีโอคลิป ไหว้ครู หลวงพ่อเปิ่น

วิดีโอคลิป วันไหว้ครู หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ





ถ่ายปี ๒๕๕๒


เจ้าของคลิปมี บล็อก อยู่ที่ http://siamink-thethaiamuletshop-sakyant.blogspot.com เป็นเวบเพจของประเทศสิงคโปร์ วัดบางพระ บางทีก็คืสถานที่โด่งดังที่สุดแห่งประวัติศาสตร์เกี่ยกับเวิชาสักยันต์

ผมคิดว่าผมก็ไม่ต้องอธิบายให้ใครเลยว่า วัดบางพระ ต,บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ก็คือที่อยู่ของพระอาจารย์สักยันต์สุดยอด ชื่อว่า พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ) ครับผม. หลวงพ่อเปิ่นได่อีกชื่อนึงว่า เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี

วัดบางพระมีอาจารย์สักอยู่กันเป็นจำนวนไม่น้อบเลยทีเดียวครับ มีทั้งพระสงฆทั้งฆรวาสสักอยู่ครับ อาธิ หลวงพี่แป๊ว หลวงพี่ติ่ง หลวงพี่ยาฯฯ ทางฆรวาสมี่อาจารย์ปลิ๊กอยู่บางครั้งนั่งสักอยู่หน้าทางเข้าพิพิธพันธ์

hlwong Por Phern

ณ วันไหว้ครูทุกปีก็จะมีการคอบเศียรครูโดยหลวงพี่ติ้งจะคอบหนึ่วันก่อนวันไหว้ครู ในวันไหว้ครูก้จะมีลูกศิษย์ลูกหามาจากทั่วประเทศทุกทิศทุกทางครับ ลูกศิษย์ต่องชาติ์ที่มมีสรัทธาเลื่อมใสก็มีเยอะมากเหมือนกันครับ ว่าหลวงพ่อก็มีบารมีมากจจึงทำให้ความเสน่หาแมตตาของท่านได้ระบายไปถึงทั่วโลกแล้วครับ ถึงครูใหญ่เขางเราลูกศิษย์ก็มรณภาพแล้ว ธรรมะ และตำราของท่านก็ไม่ได้เสื่อมเสียเลย บอกได้เลยว่ามันก็ยิ่งขึ้นกว่าอีกด้วยครบผม นี่ก็ถือได้ว่ามันเพราะบารมีของท่านก็สูงมากครับ ท่านมีประวัติ์ที่น่าเลื่อมใสจริงๆ

ประวัติ หลวงพ่อ;

คัดลอกจาก http:// www.geocities .com/ watbangpra/ biography.html
ปัจจุบัน หากได้มีโอกาสเข้ากราบพระคุณเจ้าหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จะเห็นได้ว่าองค์หลวงพ่อนั้น มีความอิ่มบุญ อิ่มกุศล ดูดวงหน้าท่านนั้นมีแต่ความสงบ มีแต่ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่กว่าที่ท่านหลวงพ่อเปิ่น จะสร้างสมบุญบารมีถึงชั้นนี้นั้น องค์ท่านมีประวัติที่มาพิสดารพอประมาณ ซึ่งเป็นการต่อสู้ดิ้นรนในการศึกษาหาวิชาความรู้ที่ตัวเองต้องค้นหามาตลอดใน การเรียนรู้แต่ละครั้ง แต่ละอาจารย์
ถึงจุด ๆหนึ่ง หลวงพ่อเปิ่นถึงกับกล่าวว่า
“ในตอนแรก ๆ นั้น อาตมาคิดว่าได้เรียนวิชาเอกไว้มากมายแล้ว และได้เรียนรู้ในข้อธรรมทั้งหลาย ลึกซึ้งดี แล้ว แต่ที่ไหนได้พอได้พบได้สนทนากับผู้ที่มีความรู้และภูมิธรรมสูงกว่า และเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ดำริตน ให้พ้นจากอาสาวะกิเลสทั้งปวงแล้วนั้น ทำให้อาตมารู้สึกว่า อาตมาเองเหมือนกบอยู่ในกะลาครอบจะต้องเรียนรู้ จะต้องศึกษาอีกมากมาย และยังต้องบำเพ็ญเพียรทางจิตอีกมากจึงจะเทียบเท่าท่านผู้รู้เหล่านั้นได้ เพราะขณะนั้น อาตมายังไม่ได้ปฏิบัติตน ไม่เคยเห็นโลกกว้างเหมือนผู้รู้ผู้แสวงหา ไม่ได้ถึงธรรมอย่างแท้จริง และปฏิบัติกันอยู่ แค่วิชาความรู้ทางไสยศาสตร์เพียงอย่างเดียว ไม่อาจนำพาตัวเองรอดจากเวียนว่ายตายเกิดได้เลยต้องศึกษาปฏิบัติควบคู่กันไป เป็นพลังเสริมความมั่นคง อันก่อให้เกิดความกาวหน้าทางจิต จนกระทั่งได้พบกับแสงสว่างทางธรรมอันสมควรอีกด้วย
และถ้าหากอาตมาไม่แสวงหาวิชาความ รู้ต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วแผ่นดินแล้วก็จะอยู่เพียงเท่านี้ ไม่ก้าวหน้าต่อไปวิชาก็ไม่แน่นพอ ไม่ได้เห็นแสงสว่างของทางธรรม และยังไม่ได้เข้าถึงคุณวิชาที่เข้าศึกษาจึงจำเป็นต้องไปเพื่อกาลข้างหน้าจะ ได้เป็นผู้รู้ได้บ้าง แต่จะได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็แล้วแต่บุญกุศลเถิดว่าจะสนองตอบเราได้เพียงไหน”
นั้นเป็นคำกล่าวขององค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น เมื่อท่านได้พบกับหลวงพ่อโอภาสี (มหาชวน) ท่านจึงทราบว่าท่านอยู่ในฐานะเพียงไหน
จึงต้องออกธุดงค์ต่อไปเพื่อหาความ วิเวกศึกษาปฎิบัติ นี่เป็นเพียงจุดเดียวเท่านั้นในชีวิตขององค์พระคุณเจ้าหลวงพ่อเปิ่น ซึ่งมีอยู่มากมายในเรื่องของความพิสดารแห่งการศึกษาหาความรู้
เรามาทราบถึงชาติองค์ท่านก่อน

องค์หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ เป็นชาวนครชัยศรี จ.นครปฐม โดยกำเนิด บิดาท่านมีนามว่า “นายฟัก” มารดามีนามว่า”นางยวง” อยู่ในตระกูล “พู่ระหง” ครอบครัวขององค์หลวงพ่อเปิ่นมีอาชีพทำนาอันเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในแถบ นั้น
องค์หลวงพ่อเปิ่น ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๖๖ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้นหนึ่งค่ำ (๑) เดือนเก้า (๙) ครั้งนั้นในแถบถิ่นเมืองนครชัยศรี ได้มีทารกน้อยมาจุติ ซึ่งมากล้นด้วยบุญญาธิการ ด้วยลักษณะที่ผิวพรรณผ่องใส ผิดไปจากพี่น้องซึ่งอยู่ด้วยกันทั้งหมดเวลานั้น คือมีพี่ทั้งหญิงและชาย ๘ คน หลวงพ่อเป็นคนที่เก้า และต่อมาองค์หลวงพ่อจึงมีน้องที่เป็นหญิงเพิ่มมาอีกหนึ่งคน
วัยเด็ก ชีวิตปฐมวัยขององค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น นับว่าเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างเป็นที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในสมัยนั้นแถบถิ่นลุมน้ำนครชัยศรีอุดมไปด้วยวิชาอาคม อาจเนื่องด้วยไกลปืนเที่ยง ในตอนนั้นการเรียนรู้วิชาอาคมเอาไว้เพื่อป้องกันตัวจึงถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ ผู้ชายทุกคนจักพึงมี หลวงพ่อเปิ่น องค์ท่านสนใจในเรื่องไสยศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเด็ก อาศัยว่าครอบครัวของท่านอยู่ใกล้กับวัดบางพระ ซึ่งในสมัยนั้นมีองค์พระคุณเจ้าที่จำพรรษา (รวมทั้งพี่ชายหลวงพ่อด้วย) ณ วัดบางพระ เก่งกาจในสายไสยศาสตร์มากหลายองค์ เด็กชายเปิ่นจึงเข้าออกเพราะความอยากรู้ อยากใฝ่หาในวิชาอยู่กับวัดบางพระเป็นประจำ
ครั้นต่อมาครอบครัวย้ายไปตั้งรกราก ทำมาหากินที่จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง ที่สุพรรณบุรีนี่เองที่เด็กชายเปิ่นได้ฉายแววเป็นนักเลงจริง เป็นคนจริงให้เห็น เพราะการอยู่ในดงนักเลงที่เป็นคนจริง จะต้องเป็นคนจริงไปด้วยโดยปริยาย เมื่อถึงจุดนี้ผู้ชายไทยใจนักเลงทุกคนจึงต้องหาอาจารย์ศึกษาทางด้านไสยเวทย์ เพื่อเอาไว้ป้องกันตัวเองบ้าง เป็นการเสริมสร้างบารมีให้แก่ตนเอง เด็กชายเปิ่นจึงต้องขวนขวายหาครูบาอาจารย์ผู้เรืองเวทวิชาอาคม ศึกษาหาวิชามาไว้ป้องกันตัวเองได้เวทมนตร์คาถาเอามาท่องจำ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอด
จนกระทั่งได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ ขององค์ท่านหลวงพ่อแดงแห่งวัดทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ศิษย์เอกของท่านหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน องค์พระคุณเจ้าที่เก่งพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะเก่งกล้าเป็นอย่างมากทางด้านกัมมัฎฐานและไสยเวทย์ นี่เองคือจุดเริ่มความเก่งกาจของ เด็กชายเปิ่นจนถึงนายเปิ่นในกาลเวลาต่อมา
หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก องค์เสมือนจะทราบว่าเด็กชายเปิ่นคนนี้มีแววแห่งผู้ขมังเวทอย่างแน่นอน อีกทั้งจิตใจ อันใสบริสุทธิ์สะอาด ผนวกกับเป็นคนจริงท่านจึงได้ถ่ายทอดในสายวิชาของท่านพร้อมวิชา ไสยเวทย์ต่าง ๆ ให้กับเด็กชายเปิ่น
ด้วยความจำ ด้วยความที่ตนใฝ่หาทางนี้โดยตรง ความรู้ที่พระอาจารย์หลวงพ่อแดงมอบให้จึงตกอยู่ที่เด็กชายเปิ่นอย่างมากมาย ที่สำคัญในช่วงนั้นนั่นเองที่เด็กชายเปิ่นเจริญเติบโตเป็นนายเปิ่นได้มีความ อยากรู้ อยากเรียน อยากทราบในสายพระเวทย์เหมือนองค์หลวงพ่อเปิ่น จึงเป็นที่ถูกคอกันยิ่งนัก ซึ่งต่อมาเพื่อนคนนี้ได้อุปสมบทเหมือนกัน มีนามว่าหลวงพ่อจำปา (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) เจ้าอาวาสวัดประดู่ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ ฯ ซึ่งมีลูกศิษย์ ลูกหามากมาย

หลวงพ่อเปิ่นศึกษาวิชากับหลวงพ่อ แดง วัดทุ่งคอกอยู่จนถึงเวลาที่ครอบครัวย้ายถิ่นฐานกลับสู่บางแก้วฟ้า จังหวัดนครปฐม อีกครั้ง ซึ่งตรงกับอายุครบเกณฑ์ทหารพอดี ในสมัยนั้นการเกณฑ์ทหารแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ทหารประจำการ กับ ทหารโยธา
สมัยนี้นี่เองที่นายเปิ่นได้รับการ ถ่ายทอด วิชาสักยันต์ อันเกรียงไกร โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดบางพระ แน่นอนที่สุดนี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตขององค์หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ เพราะวิชาที่ได้รับการถ่ายทอดมาล้วนเป็นวิชาที่สุดยอดทั้งสิ้น หากมองย้อนกันกลับไป พระอธิการหิ่ม อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดบางพระในเวลานั้น หากเทียบกันในเรื่องไสยเวทย์คาถา จัดได้ว่าเป็นหนึ่งเป็นจิตจริงอันแน่วแน่ เพียงแต่องค์ท่านไม่ออกสู่สนามลองพระเวทย์สักเท่าใด อีกทั้งเรื่องยาสมุนไพรรักษาโรคก็นับว่าเป็นหนึ่งเหมือนกัน
ถือว่าเป็นวิชาพระคาถาอาคมที่ได้ รับการสืบทอดความลึกลับกันมาตั้งแต่โบราณกาล ขณะนั้นนายเปิ่นได้เข้ารับใช้หลวงพ่อหิ่ม เพื่อความอยากเรียนในด้านไสยเวทย์จากองค์ท่านหลวงพ่อหิ่มนั่นเอง ซึ่งก็ได้รับความเมตตาเป็นอย่างดีจากท่านหลวงพ่อหิ่ม สายวิชาพระเวทย์ลึกลับตั้งแต่โบราณกาลจากองค์หลวงพ่อหิ่ม จึงถูกถ่ายทอดให้กับนายเปิ่นทั้งหมด
เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นเพราะในช่วงที่หนุ่มแน่น นายเปิ่นเข้าออกวัดบางพระเกือบทุกเวลาจึงใกล้ชิดกับวัดอย่างดีที่สุด จนเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ซึ่งนายเปิ่นคิดไปว่า ต้องบวชเรียนเพื่อศึกษาในสายวิชาอย่างจริงจัง เมื่อมาถึงในขั้นตอนที่ต้องใช้จิตใจในส่วนของความสงบ นึกดังนั้นจึงขออนุญาตพ่อแม่ว่าอยากบวชเรียน ซึ่งทั้งสองคนต่างดีใจเป็นอย่างมาก ยินดีให้นายเปิ่นเข้าสู่บวรพุทธศาสนา
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ นายเปิ่นเข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โดยมี พระอธิการหิ่ม อินฺทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อยู่ ปทุมรัตน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เปลี่ยน จิตฺตธมฺโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ หลวงพ่อเปิ่น จึงเริ่มศึกษาเล่าเรียนในพระธรรมวินัย สิกขาบท ตามภาระหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ ที่สำคัญคือการศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาอาคม จากตำรับตำราโบราณที่พระอาจารย์หลวงปู่หิ่ม สอนให้อย่างตั้งอกตั้งใจ นอกจากท่องบ่นพระเวทย์มนตร์คาถาอาคมแล้ว หลวงพ่อเปิ่นยังได้รับการถ่ายทอดในสายอักขระโบราณเป็นรูปแบบของยันต์ต่าง ๆ การลงอาคมตามทางเดินของสายพระเวทย์จนเป็นที่ชำนาญ กล่าวกันว่าอักษร อักขระ ที่หลวงพ่อเปิ่นลงหรือเขียนนั้นสวยงาม มีเสน่ห์เป็นยิ่งนัก
ในช่วงเวลา ๔ ปีกว่า ๆ ที่หลวงพ่อเปิ่นศึกษาวิชาต่าง ๆ จากพระอาจารย์หลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต และอยู่ปรนนิบัติพระอาจารย์จนถึงกาลที่พระอาจารย์หลวงปู่หิ่มละสังขาร มรณภาพ ซึ่งนับเป็นศิษย์องค์สุดท้ายที่ได้อยู่ปรนนิบัติหลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต หลังจากที่พระอาจารย์มรณภาพ หลวงพ่อเปิ่นจึงได้ออกจาริกปฏิบัติธรรม แสวงหาสัจจธรรม และในจุดประสงค์ลึก ๆ ของหลวงพ่อเปิ่นนั้นต้องการแสวงหาพระอาจารย์เพื่อศึกษาพระเวทย์
ในช่วงนั้นมีพระอาจารย์องค์หนึ่ง โด่งดังมากในเรื่อง "เตโชกสิณ" นั่นคือ องค์หลวงพ่อโอภาสี จำพรรษาอยู่ที่วัดรังษี (เดิมอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศน์ ต่อมาจึงยุบไปรวมกับวัดบวรนิเวศน์) หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ จึงเข้าไปฝากตัวศิษย์ หลวงพ่อโอภาสี ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส
ในครั้งนั้นหลวงพ่อเปิ่นเข้าศึกษา กับพระอาจารย์หลวงพ่อโอภาสีเป็นเวลาเกือบปี จึงกราบลาพระอาจารย์หลวงพ่อโอภาสี เพื่อออกธุดงค์ต่อไป ตามแนวของพระอาจารย์ หลวงพ่อเปิ่นเคยปรารภให้ศิษย์ฟังว่า
"อาตมาเรียนด้วย ปรนนิบัติท่านโอภาสีไปด้วย คงเป็นเพราะบุญบารมีของอาตมาที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนก็ว่าได้ จึงได้มีโอกาสศึกษากับท่านโอภาสี สำคัญมาก ๆ จริง ๆ และถ้าหากอาตมาไม่แสวงหาวิชาความรู้ต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วแผ่นดินแล้วก็จะอยู่เพียงแค่นี้ไม่ก้าวหน้าต่อไป วิชาก็ไม่แน่นพอ ไม่ได้เห็นแสงสว่างของธรรมและยังไม่ได้เข้าถึงคุณวิชาความที่ต้องศึกษาจึงจำ เป็นต้องไปเพื่อกาลข้างหน้าจะได้เป็นผู้รู้บ้าง แต่จะได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็แล้วแต่บุญกุศลเถิดว่าจะสนองตอบเราได้เพียงใด"
ทราบกันเพียงว่าหลังจากองค์ท่าน หลวงพ่อเปิ่นเข้ารับการถ่ายทอดในสายวิชาของหลวงพ่อโอภาสีแล้วทำให้หลวงพ่อ เปิ่นท่านทราบได้ถึงสายวิชาที่มีอยู่อย่างมากในภพหล้าของเมืองไทยอีกทั้งได้ รับการชี้แนะ จากองค์ท่านหลวงพ่อโอภาสีถึงองค์พระภิกษุสงฆ์เจ้าที่เก่งในด้านวิชา ตามเส้นทางที่องค์ท่านหลวงพ่อโอภาสีท่านเคยจาริกแสวงมา
หลังจากที่กราบลาองค์พระอาจารย์ หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อเปิ่นจึงออกธุดงค์มุ่งสู่ป่าเขาลำเนาไพรอีกครั้ง โดยมุ่งหน้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นแหล่งใหญ่ของการปฏิบัติบำเพ็ญภาวนาซึ่งป่าแถบเมืองกาญจนบุรี มีพร้อมสำหรับผู้แสวงหาสัจธรรมและความวิเวก
อีกทั้งองค์พระคุณเจ้าที่เก่งและ เสาะหาในสายวิชาต่างมุ่งตรงสู่ป่าเขาในจังหวัดกาญจนบุรีกันเป็นส่วนมาก จึงเป็นโอกาสดีของการรับรู้และแลกเปลี่ยนในสายวิชาซึ่งกันและกัน
ช่วงนี้นี่เองที่ชีวประวัติองค์ หลวงพ่อเปิ่น ได้หายไปจากเมือง ทราบเพียงว่าองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ท่านออกจาริกข้ามขุนเขาตะนาวศรี เข้าสู่เมืองมะริดของประเทศพม่าเข้าสู่บ้องตี้เซซาโว่ เกริงกาเวีย า (พ.ศ. ๒๔๙๖ - ๒๕๐๔ ) ซึ่งป่าแถบนั้นเป็นป่า ที่ซ่อนอาถรรพ์ลี้ลับนานาประการเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากสัตว์อันตรายจากสิ่งลี้ลับ มนต์ดำแห่งป่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นเกิดความกลัวแต่อย่างใด กลับตรงกันข้ามท่านกลับมุ่งใจพุ่งองค์เองเข้าสู่แดนอาถรรพณ์มหันตภัยแห่งนี้ แน่นอนละ หากในสายวิชาไม่แข็ง หรือจิตไม่เพียบพร้อม ณ ป่านี้นี่เองที่องค์ธุดงค์วัตรหายไปอย่างลึกลับ มีมาแล้วจะเป็นด้วยไข้ป่า ผีป่า นางไม้ วิญญาณร้ายต่าง ๆ ที่สำคัญคือสัตว์ร้ายนานาชนิดที่มีอยู่อย่างมาก โดยเฉพาะ "เสือสมิง" ที่นี่มีตำนานที่เล่ากันมาตั้งแต่บรรพกาล ในส่วนของเสือร้ายที่สามารถกลับกลายแปลงร่างเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ที่ศึกษา วิชาทางด้านนี้ จนสามารถกลับกลายร่างตนเองเป็นเสือสมิงไป และไม่ได้กลับร่างมาเป็นคนอีก เป็นเรื่องจริง ในสายวิชาเร้นลับวิชาหนึ่ง
ในส่วนองค์หลวงพ่อเปิ่น ท่านไม่ได้ประหวั่นพรั่นพรึงในส่วนนี้เลยแม้แต่น้อย จะเป็นด้วยเพื่อทดลองสายวิชาที่ได้เล่าเรียนมาหนึ่ง หรือเป็นด้วยองค์ท่านตัดทางจิตแล้วที่จะอุทิศตนเพื่อพระศาสนา ดังนั้นจิตอันสงบ จึงทำให้ไม่กลัวอะไรแม้แต่น้อย ช่วงนี้องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นประวัติเงียบหายไปอย่างสนิทมีเพียงคำบอกเล่าของ ชาวบ้านว่าเจอองค์ท่านบ้าง ชาวเขา ชาวป่า พวกกระเหรี่ยง บอกว่าเจอองค์ท่านและองค์ท่านได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวป่า ชาวเขามาแล้วบ้าง
เป็นดังนี้ กระทั่งปลาย พ.ศ. ๒๕๐๔ บ่ายแก่ของวันหนึ่ง พระธุดงค์วัยกลางคนมาปักกลดอยู่ชายป่าใกล้กับวัด ทุ่งนางหลอก อ.ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี ที่นี่นี้เององค์พระธุดงค์องค์นี้ได้สร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย ทั้งปฏิปทาที่เคร่ง ทั้งสายวิชาสานยาสมุนไพรช่วยเหลือชาวบ้าน ยิ่งเข้ากราบยิ่งเป็นที่กล่าวขาน เกิดเป็นศรัทธาอันสูงสุดของชาวบ้านที่พุ่งตรงสู่พระคุณเจ้ารูปนี้ "หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ " คือองค์ธุดงค์องค์นั้น ประจวบกับวัดทุ่งนางหลอกซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่มีเจ้าอาวาสมีเพียงพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่สองสามรูป จนจะกลายเป็นวัดร้างอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าผู้ที่จะช่วยพัฒนาวัดทุ่งนาวัดนางหลอกให้กลับ มาคืนมาอีกครั้ง คือองค์พระธุดงค์องค์นี้ จึงได้พร้อมกันนิมนต์องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นให้ท่านช่วยพัฒนาเสนาสนะต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเหมือนเดิมและให้องค์ท่านอยู่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน เป็นที่พึ่งพาอาศัยของพวกเขาต่อไป
หลวงพ่อเปิ่นรับนิมนต์ เมื่อ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งนางหลอก องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ใช้ความรู้ความสามารถขององค์ท่านทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับแถบถิ่น เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ พระคาถาอาคมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านเท่าที่จำเป็น เพียงระยะเวลาไม่นานที่องค์พระคุณเจ้าหลวงพ่อเปิ่นมาเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่ง นางหลอก การพัฒนาวัดรุดหน้าไปมาก เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างแปลกหูแปลกตา ทำให้ชื่อเสียงองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นเป็นที่รู้จักและเริ่มกระจายออกไปกว้าง ขึ้น ๆ จากคำบอกเล่าปากต่อปาก ประจวบกับองค์ท่านมีจริยาวัตรอันงดงาม มีวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งมีวิชาอาคมที่เป็นเลิศ เพียงไม่ถึง 2 ปี ที่องค์ท่านจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งนางหลอก จ.กาญจนบุรี วัดนี้เจริญขึ้นพอสมควร องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น จึงออกจาริกต่อไป นำพาซึ่งความอาลัยเสียดายแก่ชาวบ้านทุ่งนางหลอก เป็นยิ่งนัก
สู่วัดโคกเขมา หลังจากออกจากวัดทุ่งนางหลอก องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ จึงออกธุดงค์มุ่งสู่สมถะวิเวกอีกครั้งยาวนานร่วม 2 ปี โดยใช้เส้นทางวึ่งเป็นป่าดงดิบรกชัฏตามกาลสมัย ระหว่างทางองค์ท่านแวะพักที่วัดโคกเขมา ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งก็ตรงกับจังหวะที่วัดโคกเขมา ไม่มีเจ้าอาวาสพอดิบพอดี วัดโคกเขมา นับว่าไกลปืนเที่ยงอยู่เหมือนกัน กันดารอยู่กลางป่า การเดินทางไปมาแสนลำบาก เมื่อชาวบ้านทราบว่ามีพระธุดงค์เข้ามาพักที่วัดและทราบต่อมาทราบว่าเป็น ศิษย์ของหลวงปู่หิ่ม อินทฺโชโต ชาวบ้านจึงพากันนิมนต์องค์หลวงพ่อเปิ่น ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา
หลวงพ่อเปิ่นจึงต้องรับนิมนต์เป็น เจ้าอาวาสวัดโคกเขมามาตั้งแต่กาลนั้น คณะสงฆ์ในตำบลแหลมบัว ออกประกาศและแต่งตั้งให้หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาสืบไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เมื่อเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น จึงได้เริ่มพัฒนาวัด ก่อสร้างเสนาสนะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทุกอย่างเกิดจากศรัทธาของประชาชนที่มีต่อองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นในเวลานั้น และที่วัดโคกเขมานี่เอง องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นท่านได้สร้างพระเครื่องเป็นครั้งแรก ปัจจุบันพระเครื่องรุ่นนี้ของวัดโคกเขมา หาเป็นสิ่งยากเพราะเป็นพระเครื่องที่มีประสบการณ์ สร้างอภินิหารให้ผู้ที่ครอบครองได้ประจักษ์
หลังจากรุ่นรูปหล่อเนื้อทองแดงของ ท่านแล้ว พระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ จากวัดโคกเขมาจึงออกมาเพื่อให้ศิษย์และประชาชนได้เช่าหาบูชากัน เพื่อนำเงินบำรุงพัฒนาวัดโคกเขมาทั้งหมด ที่วัดโคกเขมาองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นออกพระเครื่องทั้งเนื้อผง (สมเด็จ) ทั้งรูปหล่อ ทั้งเหรียญพระบูชา (พระสังกัจจายน์) ซึ่งชมได้จากภาพที่ได้จัดเรียงไว้อย่างครบครันในประมวลภาพพระเครื่องของวัด โคกเขมา (เล่มที่1) ทุกชิ้นทุกอย่างทุกองค์ในเวลานั้นดูมีค่ามากสำหรับชาวบ้านที่รับไป นั่นหนึ่งละที่เป็นเหตุให้ชื่อองค์ท่านหลวงพ่อขจรไกลไปทั่วแคว้น ทุกอย่างเกิดจากประสบการณ์ของผู้ใช้ทั้งสิ้น
จึงไม่แปลกเลยทีช่วงนั้น ณ กุฎิท่านวัดโคกเขมา ซึ่งมีพร้อมทั้งทางด้านไสยศาสตร์ ทั้งทางด้านปฏิบัติธรรม ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติจนเป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้ที่มากราบไหว้พบเห็น ชนทุกเหล่าทุกนามที่ทราบข่าวต่างเข้ามากราบไหว้กันจนกุฎิไม่แห้ง ที่กล่าวขานกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น จวบปัจจุบันตั้งแต่วัดโคกเขมาเป็นต้นมานั่นคือ " การสักยันต์ " แน่ละหากกล่าวถึงหลวงพ่อเปิ่นในหมู่ของชายฉกรรจ์ตั้งแต่อดีตมาหากเป็นสมัย ท่านแล้วละก็ ต้องยกนิ้วให้องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ในเรื่องของไสยศาสตร์เวทมนต์คาถาที่ส่งลงสู่ร่างของชายชาตินักสู้ในรูปแบบ ขององค์ท่านเอง
ทุกอย่างสมบูรณ์เพียบพร้อมถึงขนาด มีข่าวคราวกระพือโหมไปทั่วว่า แม้สิ้นชีพไปแล้ว มีดผ่าตัดยังไม่สามารถเฉือนเนื้อลงได้เลย คงทราบกันดีแล้วนะครับในข่าวนี้ องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นในสมัยที่องค์ท่านยังมิได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครู ฯ องค์ท่านลงมือสักลงอักขระเวทด้วยองค์ท่านเอง มาภายหลังที่ท่านประสิทธิ์ประสาทให้แก่ศิษย์เป็นผู้สักแทน องค์หลวงพ่อเพียงทำพิธีครอบให้เท่านั้น เรื่องการสักขององค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นกล่าวกันเพียงบทสรุปองค์ท่านหลวงพ่อ เปิ่น ท่านจะชอบ " เสือ " ด้วยเหตุผลที่องค์หลวงพ่อบอกเพียงสั้นแก่สานุศิษย์ว่า เสือเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ เพียงเสียงคำรามสัตว์ทั้งหลายก็สงบเงียบ กลิ่นของเสือสัตว์ทั้งหลายเมื่อสัมผัสจะยอมในทันที หลีกทันก็ต้องหลีก จัดอยู่ในมหาอำนาจ เสือรูปร่างสง่างาม เต็มไปด้วยอำนาจบารมีจัดอยู่ในมหานิยม
ในช่วงปี ๒๕๑๔ หลวงพ่อเปิ่นได้รับสมณศักดิ์เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมในพระอุดมสารโสภณ เป็นช่วงที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อันเป็นเวลาที่วัดโคกเจริญรุดหน้าขึ้นอย่างสูงสุด
พ.ศ. ๒๕๒๒ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่พระครูฐาปนกิจสุนทร
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบ้ตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอุดมประชานาถ
หลวงพ่อเปิ่นมรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๕ เวลา ๑๐.๕๕ รวมอายุ ๗๙ ปี พรรษา ๕๔

เวบไซท์วัดบางพระ

กลับไปที่หน้าแรก

สักยันต์ในเวบ

 

blogger templates | Make Money Online