sak yant

สัก ยันต์, อาจารย์สัก, วิชาอาคม, ยันต์ทุกชนิด, ยันต์ตะกรุด, เสื้อยันต์, ผ้ายันต์ พระเครื่องง คงกรัพันชาตรี, ไสยศาสตร์, พุทธคุณ เกจิอาจารย์ พระฤษี108น สัตว์หิมพานต์ รามเกียรติ์

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กสิน10กอง

กสิน หมายถึง วัตถุอันจูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ คือ เป็นชื่อของกัมมัฏฐาน ที่ใช้วัตถุจูงจิตให้เป็นสมาธิ (ฌาน) (ส่วนคำว่า ญาน คือ ปัญญา) โดยใช้วิธีการเพ่งที่เรียกว่า "การเพ่งกสิน"
1. ปฐวีกสิน คือ ดิน
2. อาโปกสิน คือ น้ำ
3. เตโชกสิน คือ ไฟ
4. วาโยกสิน คือ ลม
5. นีลกสิน คือ สีเขียว
6. ปิตกสิน คือ สีเหลือง
7. โลหิตกสิน คือ สีแดง
8. โอทาตกสิน คือ สีขาว
9. อาโลกสิน คือ แสงสว่าง
10. อากาสกสิน คือ อากาศ
กสินบัญญัติ 10 ทำแล้ว ได้ผลถึง ฌาน 5 คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน เมื่อได้ฌานนำไปวิปัสสนา เพื่อพิจารณา กสิน 10 แต่ละอย่างโดยละเอียดยิ่งขึ้น จะเห็นเซลธาตุที่ละเอียดและดูการทำงานของมโนทวารวิถีแต่ละขณะ ๆ ขณะเพ่งกสินจักขุทวารจะทำงาน เพ่งไปเพ่งมาแล้วหลับตา ภาพจะเกิดขัดเจนที่มโนทวาร
กสิน ๑๐ แบ่งกลุ่มได้ ๓ กลุ่ม คือ
๑. กลุ่มภูตกสิน (มหาภูตรูป ๔)

๒. กลุ่มวรรณกสิน (สี ๔)
๓. กลุ่มกสินอื่น ๆ (๒)

อยากรู้เรื่องกสิน ๑๐ ตลอดถึงวิธีปฏิบัติเพิ่มเติม อ่านรายละเอียดได้จาก วิสุทธิมรรค เล่มที่ ๑ หน้า ๑๕๐-๒๑๗ หรือในเว็ปนี้ค่ะ
http://www.praruttanatri.com/v1/member/htm/ks10.html


กสิณ

เรื่องกสินในวิสทธิมรรคกับในพระบาลี(อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต)ก็ยังมีความแตกต่างกันอย
กสินเป็นหมวดหนึ่งของการฝึกกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในกรรมฐาน 40 แต่ผู้เขียนได้นำมาดัดแปลงเพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติโดยเร็วและให้ถูกกับจริตซึ่งถือเป็นอุบายทางธรรม
อย่างหนึ่ง
  1. ก่อนอื่นหากระดาษสีแดงมาตัดเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว (สำหรับใช้แทนดวงกสิน)
  2. นำไปติดข้างฝาผนังห้องพระ ควรติดให้อยู่ระดับเดียวกับสายตาเพื่อสะดวกในการเพ่ง ระยะเพ่งควรห่างสัก 1 - 2 คืบ
  3. เวลาเพ่งให้เพ่งไปที่จุดกึ่งกลางของดวงกสินจนสามารถจดจำดวงกสินได้แล้วจึงค่อยหลับตาลง หากไม่เห็นอะไรเลยให้ลืมตาเพ่งใหม่แล้วหลับตาลงจนกว่าจะเห็นดวงกสิน
  4. คุณจะเห็นดวงกสินสีแดงปรากฎขึ้น หากเห็นเป็นสีดำ สีเขียว หรือสีอื่นๆ ก็ให้เพ่งไปที่จุดกึ่งกลางของดวงกสินต่อไป เมื่อสมาธิเกิดจิตใจสงบมันจะกลายเป็นสีแดงเอง ( การเห็นดวงกสินเป็นสีอื่นๆ นั่นหมายถึงกิเลสของคุณยังหนาอยู่ครับ)
  5. กำหนดดวงกสินสีแดงให้เกิดขึ้น
    และทำให้ดวงกสินดับหรือหายไป ทำแบบนี้หลายๆ ครั้งให้ชำนาญแล้วค่อยฝึกลำดับต่อไป
  6. กำหนดดวงกสินสีแดงให้เล็กลง และทำให้ใหญ่ขึ้น ทำแบบนี้หลายๆ ครั้งให้ชำนาญแล้วค่อยฝึกลำดับต่อไป
  7. กำหนดดวงกสินสีแดงให้ลอยขึ้นไปอยู่เหนือศรีษะ
    แล้วให้ลอยผ่านศรีษะลงไปอยู่ที่หน้าผาก แล้วให้ลอยผ่านไปอยู่ที่หน้าอก แล้วให้ลอยไปอยู่เหนือสะดือ
    2 นิ้ว ทำแบบนี้หลายๆ ครั้งให้ชำนาญ แล้วค่อยฝึกลำดับต่อไป (ดวงกสินต้องอยู่กลางกายนะครับ)
  8. กำหนดดวงกสินสีแดงให้สว่างไสวขยายใหญ่ขึ้นจนเห็นตัวคุณเองอยู่ในกลางดวงกสิน ทำแบบนี้หลายๆ ครั้งให้ชำนาญ ทำทุกวันจนกว่าคุณจะได้สมาธิขั้นสูง

อยากเจอ หลวงปู่ เทพอุดร ต้องทำยังงี้ี้


กสิณสิบ อรูป ฌานสี่


จึงดำเนิน มุ่งหน้า ยังป่ากว้าง
ตามเส้นทาง ยังที่ มุนีสถาน
ดาบสรู้ ชัดเจน เห็นด้วยฌาน
รอรับการ มาเยือน อย่างยินดี

ถึงอาศรม ร่มเย็น ขอเป็นศิษย์
พระบพิตร มีพื้นฐาน จากฌานสี่
อรูปฌาน คือวิชา พระโยคี
“มุนีจะ สอนสั่ง จงตั้งใจ

จตุฌาน หมั่นซ้อม ย่อมเก่งกล้า
เข้าออกได้ ไม่ว่า เวลาไหน
กสิณสิบ ฝึกฝน จนขึ้นใจ
แล้วต่อไป เข้าสู่ อรูปฌาน

คำกสิณ นะหรือ คือเครื่องหมาย
ฝึกใจกาย มีอิทธิ ปาฏิหาริย์
ทั้งเหาะเหิน เดินบนน้ำ ตามต้องการ”
ท่านอาจารย์ ส่งมือ ให้ถือดิน

“มองดินจน จำได้ ดังใจนึก
เป็นการฝึก ปฐวีกสิณ
จะหลับตา ลืมตาดู รู้สีดิน
จนดวงจินต์ จำจับ ไม่ดับไป

ภาพสีดิน ค่อยสว่าง กระจ่างขาว
แวววาว พราวพร่าง สว่างไสว
กำหนดวาง หน้าหลัง ได้ดั่งใจ
ให้สูงต่ำ เล็กใหญ่ ได้เช่นกัน

อย่างที่สอง ภาวนา อาโปกสิณ
เอาน้ำริน ตั้งใส่ ไว้ในขัน
มองภาพน้ำ จดจำ เป็นสำคัญ
จนจำมั่น เป็นนิมิต แม้ปิดตา

เพ่งภาพน้ำ จนใส ดูคล้ายแก้ว
เพริศแพร้ว กระจ่าง สว่างจ้า
ให้เล็กได้ ใหญ่ได้ อยู่ไปมา
อยู่ซ้ายขวา หน้าหลัง ดังใจปอง

สามเพ่งไฟ แดงโร่ เตโชกสิณ
ใช้ดวงจินต์ จับไฟ ให้แคล่วคล่อง
ให้จดจำ ไฟได้ แม้ไม่มอง
จนภาพไฟ ผุดผ่อง พรรณราย

ภาพสีไฟ สว่างใส ประกายพรึก
กำหนดนึก เล็กใหญ่ ดังใจหมาย
ให้อยู่ที่ ต่างต่าง อย่างง่ายดาย
ใช้ทำลาย เผาผลาญ ด้วยฌานฤทธิ์

อย่างที่สี่ พิจารณา วาโยกสิณ
มองใบไม้ ไหวจนชิน ในจินต์จิต
แทนสายลม โบกโบย โดยนั่งพิศ
จนภาพติด จำประทับ แม้หลับตา

จวบภาพเดิม เริ่มคลาย กลายเป็นขาว
แพรวพราว พริ้งเพริศ บรรเจิดจ้า
จะให้เล็ก ให้ใหญ่ เคลื่อนไปมา
เป็นธรรมดา แคล่วคล่อง ตามต้องใจ

อย่างที่ห้า เรียกว่า โลหิตกสิณ
ดูสีแดง เป็นอาจิณ แล้วจำไว้
อย่างที่หก ปีตกสิณ จงจำไป
เพ่งสีเหลือง จนเรืองใส ได้ทุกครา

เจ็ดนีลกสิณ อันนี้ เพ่งสีเขียว
ทำเช่นเดียว จนสุกใส สว่างหล้า
แปดโอทาตกสิณ จินตนา
เพ่งสีขาว จนพราวจ้า แจ่มประกาย



เก้าภาวนา อากาสกสิณ
ดูความว่าง ไม่สุดสิ้น สิ่งทั้งหลาย
จับอากาศ ว่างว่าง สบายสบาย
จนกลับกลาย ใสสุก ทุกทิศทาง

อาโลกกสิณ คือสุดท้าย ในการฝึก
ให้จิตนึก จับรู้ ดูแสงสว่าง
นั่งที่มืด มองแสงส่อง จากร่องราง
แล้วจับภาพ ทุกอย่าง ในทางเดิม”

พระองค์ทรง ตั้งใจ ใฝ่ฝึกหัด
สมาบัติ ฌานสี่ ทรงช่วยเสริม
จึงสำเร็จ ทุกวิชา มาเพิ่มเติม
ทรงอยากเริ่ม เรียนรู้ อรูปฌาน

อันกสิณ วิชา สารพัด
ทรงแจ้งชัด กฤษดาภินิหาร
เรียกลมฝน ไฟคล่อง ถ้าต้องการ
เหาะทะยาน เดินบนน้ำ หรือดำดิน

จะเสกสิ่ง ใดใด ได้ทั้งหมด
ถ้ากำหนด ฌานสี่ ที่กสิณ
หากหลงฤทธิ์ อภิญญา มากลืนกิน
คงหมดสิ้น หลุดพ้น ทุกหนทาง

ท่านอาจารย์ อุทกดาบส
เห็นเรียนหมด เร็วจบ ครบทุกอย่าง
กสิณสิบ ปฏิบัติ เหมือนจัดวาง
จะก้าวย่าง อรูปฌาน ขั้นต่อไป

จับกสิณ ชำนาญ เข้าฌานสี่
พอรูปกสิณ คงที่ สว่างไสว
จงตัดรูป กสิณ ให้สิ้นไกล
เมื่อรูปไร้ เหลือความว่าง สว่างพราว

อรูปฌานหนึ่ง พึงเริ่มแล้ว
เพ่งอากาศ จนพร่างแพรว ดวงแก้วขาว
จะใหญ่เล็ก ห่างใกล้ ได้ทุกคราว
สุกสกาว กว้างเกิน ประเมินทราบ

แล้วเข้าสู่ อรูปฌานสอง
เมื่อจิตมอง เห็นว่า อากาศหยาบ
ตัดอากาศ ทิ้งไป ไม่เหลือภาพ
จับวิญญาณ ซาบทรง อารมณ์ไว้

พอเริ่มสู่ อรูปฌานสาม
ยังเห็นความ รู้สุข รู้ทุกข์ได้
จึงตัดสิ้น วิญญาณ ให้ผ่านไป
จับความว่าง เปล่าไร้ เป็นอารมณ์



จึงเข้าสู่ อรูปฌานสี่
ทำไม่มี ความรู้สึก ความรู้สม
ไม่รู้ร้อน หิวกระหาย ใครว่าชม
ไร้ความจำ ไร้อารมณ์ ไร้วิญญาณ

ทรงฝึกฝน เรียนจบ จนครบแล้ว

จิตผ่องแผ้ว เปี่ยมสุข เกษมศานต์
แล้วใดเล่า เขาเรียก โพธิญาณ
ท่านอาจารย์ จนตรอก บอกไม่รู้

ยกพระองค์ เลิศเลอ เสมอท่าน
เชิญร่วมการ สอนศิษย์ ที่มีอยู่

เพราะแจ้งศาสตร์ ทุกอย่าง ไม่ต่างครู
ทรงลาสู่ พงป่า พนาไพร

ยังรำลึก คุณาจารย์ ท่านทั้งคู่
ถ้าตรัสรู้ เบื้องหน้า เวลาไหน
จะกลับมา แสดงธรรม ด้วยน้ำใจ
คงรอได้ คอยนับ วันกลับมา


ฤทธิ์ ศรีดวง








กสิณ10กอง

ปฐวีกสิณ
  • กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์
  • ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า "ดิน"
  • กสิณแปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ว่า "เพ่งดิน"


อาโปกสิณ
  • อาโปกสิณ อาโป แปลว่า "น้ำ" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" อาโปแปลว่า "เพ่งน้ำ"
  • กสิณน้ำมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
  • ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอาน้ำที่ใส แกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่าง ๆ มา
  • ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะ เท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง
  • การนั่ง หรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต
  • อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม
  • สำหรับปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือ ใสมีประกายระยิบระยับ
  • เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้ว จงเจริญต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน
  • บทภาวนา ภาวนาว่า "อาโปกสิณัง"


เตโชกสิณ
  • เตโชกสิณ แปลว่า "เพ่งไฟเป็นอารมณ์"
  • กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้
  • ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชน
  • แล้วเอาเสื่อ หรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า
  • ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ
  • การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบ ที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์
  • ภาวนาว่า เตโชกสิณังๆ ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต
  • อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ
  • สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น มีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือ คล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ
  • เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา


วาโยกสิณ
  • วาโยกสิณ แปลว่า "เพ่งลม"
  • การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
  • การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
  • การถือด้วยการถูกต้องกระทบ ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอาลมกระทบจะให้พัดลมเป่าแทน ลมพัด หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้ลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้
  • เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณังๆ ๆ ๆ
  • อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับ กระไอ แห่งการหุงต้ม ที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้วนั้นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
  • สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั้นเอง อาการอื่นนอกนี้เหมือนปฐวีกสิณ


นิลกสิณ
  • นิลกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเขียว"
  • ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนังกระดาษก็ได้แล้วเอาสีเขึยวทา หรือจะเพ่งพิจารณา สีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ
  • อุคคหนิมิต เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณังๆ ๆ ๆ
  • อุคคหนิมิตนั้น ปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง


ปีตกสิณ
  • ปีตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเหลือง"
  • การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็นสีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด
  • บทภาวนา ภาวนาว่าเป็น ปีตกสิณังๆ ๆ


โลหิตกสิณ
  • โลหิตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีแดง"
  • บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณังๆ ๆ ๆ
  • นิมิตที่จัดหามาเพ่งจะเพ่งดอกไม้สีแดง หรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้
  • อุคคหนิมิต เป็นสีแดง
  • ปฏิภาคนิมิต เหมือนนีลกสิณ


โอทากสิณ
  • โอทากสิณ แปลว่า "เพ่งสีขาว"
  • บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณังๆ ๆ ๆ
  • สีขาวที่จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้ หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้
  • นิมิตทั้งอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหนิมิต เป็นสีขาวเท่านั้นเอง


อาโลกสิณ
  • อาโลกสิณ แปลว่า "เพ่งแสงสว่าง"
  • ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝา หรือช่องหลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ
  • แล้วภาวนาว่า อาโลกสิณังๆ ๆ ๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ
  • อุคคหนิมิตของอาโลกสิณ เป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่
  • ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบ เหมือนกับเอาแสงสว่าง มากองรวมกันไว้ที่นั่น
  • แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึงจตุตถฌาน เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไปก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ


อากาสกสิณ
  • อากาสกสิณ แปลว่า "เพ่งอากาศ"
  • อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณังๆ ๆ
  • ท่านให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องฝาเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อ หรือผืนหนัง
  • โดยกำหนดว่า อากาศๆ ๆ จนเกิดอุคคหนิมิตซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด
  • ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ คำอธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่น

สักยันต์ในเวบ

 

blogger templates | Make Money Online