ตำนาน แหวนพิรอด
เครื่องรางของขลังที่คนโบราณนิยมกันว่าเป็นมงคลอีกอย่างหนึ่งก็คือ "แหวนพิรอด" ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างหายาก และอาจารย์ที่ทำดูจะหายากตามไปด้วย นับเป็นวัฒนธรรมเครื่องรางโบราณอีกชนิดหนึ่งที่กำลังจะหายไปกับยุคโลกาภิวัฒ น์ หรือยุคเทคโนโลยี ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะนำพาสังคมไทยไปในรูปแบบใดจะเป็นการสร้างชาติหรือสิ้น ชาติที่หมาย
ถึงการสูญเสียวัฒนธรรมเก่าๆไปแลกกับวัฒนธรรมขยะยุคไอ.ที. (I.T.) ที่วัยรุ่นปัจจุบันมักมีพฤติกรรมแปลกให้เห็นอยู่เสมอๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ฝากข้อคิดไว้นิดว่าชาติจะมีความหมายอะไร ถ้าหากเราไม่สามารถรักษาเอกลักษณ์คือวัฒนธรรมเอาไว้ได้
แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด
ตามตำราไสยศาสตร์นั้นบอกเล่าเรื่องราวของ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด คือชนิดเล็กใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมแขน ซึ่งมักเรียกว่า “สนับแขนพิรอด” (ชนิดนี้บางทีทำด้วยโลหะผสมก็มี ตรงหัวทำเป็นเหมือนหัวแหวนพิรอด)
ซึ่งสนับแขนนี้เดิมยังใช้เป็นอาวุธของนักมวยในการกอดปล้ำที่เข้าวงใน เพราะแหวนแขนที่ทำจากด้ายดิบหากลงรักจะแข็งและคมซึ่งใช้ถูกับผิวหนังนักมวย ฝ่ายตรงข้ามทำให้เจ็บและไม่อยากเข้าต่อสู้ด้วยการกอดปล้ำเป็นการจำกัดรูปมวย ฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าพาให้เขาเข้าทางมวยฝ่ายเราซึ่งทำให้ได้เปรียบในเชิงการ ต่อสู้ ในปัจจุบันจะพบเห็นในการแข่งขันชกมวยไทยแต่ปัจจุบันคงเป็นแค่เครื่อง รางอย่างหนึ่งเท่านั้น
วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอด
วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอดโดยมากทำด้วยกระดาษว่าวกับถักด้วยเชือก ตำนานแหวนพิรอดเมื่อย้อนยุคไปเมื่อสักเกือบศตวรรษนั้นแหวนพิรอดของหลวงพ่อ ม่วง วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อมากขนาด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่๕) ได้ทรงกล่าวถึงอาจารย์ที่สร้างแหวนพิรอดที่ขึ้นชื่อลือชาในสมัยที่พระองค์ ประสพพบเห็นโดยทรงพระราชนิพนธ์บันทึกไว้นี้สองท่านคือ รูปหนึ่งคือเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้นำแหวนพิรอดมาถวายพระเจ้าลูกเธอที่ตามเสด็จ ได้ทรงวิจารณ์ไว้ว่า "เอาแหวนถักพิรอดมาแจกแหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรักนี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดี" ซึ่งพอจะคะเนได้ว่าพระเถระทั้งสองรูปน่าจะเป็นเกจิอาจารย์ของเมืองกรุง เก่า(อยุธยา)
แหวนพิรอดเดิมทีนั้นใช้วัสดุที่หาได้จากใกล้ๆตัวตามวิถีชีวิตคนในสมัย นั้นคือมักทำด้วยกระดาษว่าว ก็เพราะเป็นกระดาษที่เหนียวแน่นดีกว่ากระดาษชนิดอื่น
ลงยันต์แหวนพิรอด
เมื่อจะต้องทำลงยันต์แหวนพิรอดในกระดาษยันต์นี้ประกอบด้วยรูปพระภควัม หรือเลขยันต์ตามแต่พระเกจิอาจารย์แต่ละสายจะกำหนดขึ้นซึ่งเรื่องนี้จะเห็น ว่าเป็นกลเม็ดเด็ดพรายตามแต่สำนักใดจะสร้างขึ้น โดยมีความเชื่อกันอยู่อย่างหนึ่งถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องรางแหวน พิรอดที่สร้างขึ้นว่ามีอิทธิคุณถึงขั้นหรือยังคือเมื่อทำแล้วให้ทดลองเอาไฟ เผาดู
ถ้าไม่ไหม้ก็ใช้ได้ พระอาจารย์ผู้สร้างจึงจะนำมาตกแต่งเพื่อความมั่นคงทนทานและสวยงาม อันแหวนพิรอดนั้นโดยมากมักจะลงรักเพื่อป้องกันความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้แหวนผุง่ายไม่คงทน
ลอร์ดออฟเดอะริงค์ อย่างไทยๆ เรา
ในตำราไสยศาสตร์นั้นยังระบุอธิบายวิธีใช้ไว้ว่า ถ้าจะเข้าสู้รบทำสงคราม ให้ถือแหวนกระดาษนี้แล้วบริกรรมด้วย "มะอะอุฯ" และถ้าจะให้เป็นตบะเดชะในสงคราม ทำให้ข้าศึกครั่นคร้าม ให้บริกรรมด้วยคาถา "โอม ยาวะ พะกาสะตรีนิสิเหฯ" ว่ากันว่าไม่แต่เพียงศึกมนุษย์ถึงศึกเทวดามาก็ไม่ต้องกลัว ซึ่งคงเป็นแบบเรื่องราวของ “ลอร์ดออฟเดอะริงค์”อย่างไทยๆ เรา
ความเป็นมาของเงื่อน
เคยได้ยินคนรุ่นเก่าเล่ากันว่า แหวนหลวงพิรอด เรื่องนี้เห็นจะเป็นเพราะลากเข้าความกันมากกว่า เท่าที่อ่านพบจากการสันนิษฐานของนักปราชญ์ชาวตะวันตก(อิตาลี)ที่เข้ามารับ ราชการจนเป็นถึงเจ้ากรมยุทธศึกษาของกองทัพบกไทยคนแรกในการทหารยุคใหม่คือ ยี. อี.เยรินี (พันเอกพระสารสารขันธ์)กล่าวว่า “ชื่อ พิรอด มาจากภาษาสันสกฤตว่า วิรุทธ หรือ พิรุทธ แปลว่า อันขัดกันอยู่ อันได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง อันตรงกันข้ามเมื่อพิจารณาจากลายที่ถัก ก็ใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษาสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอดนั้นเป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาก หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือรูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือน กัน เงื่อนชนิดนี้ยิ่งดึงยิ่งแน่น”
คาถาอาคม ที่ใช้กับเงื่อน ขอเกจิอาจารย์ ต่างๆ
เงื่อนพิรอดนั้นจัดเป็นเงื่อนสำคัญที่ใช้ในการต่อเชือกหรือการผูกโยง เพื่อความมั่นคงแน่นหนาอย่างวิชาเชือกคาดสายหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบที่ต่อยุคมายังหลวงปู่ธูปวัดแค นางเลิ้ง กทม. ซึ่งพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นผู้ทรงคุณวิทยาสูงส่งเฉพาะด้านมหานิยมก็เข้ม ขลังขนาดอมตะดาราอย่าง คุณมิตร ชัยบัญชายังนับถือเป็นลูกศิษย์ซึ่งวงการผู้นิยมเครื่องรางก็ทราบกันดี โดยเชือกคาดสายหลวงปู่ขันนั้นเวลาคาดต้องขัดเป็นเงื่อนพิรอด มีคาถากำกับว่า“พระพิรอดขอดพระพินัย” และเวลาแก้เชือกก็มี
คาถาว่า “พระพินัยคลายพระพิรอด” อันจะเห็นได้ว่าศาสตร์การใช้เงื่อนพิรอดนั้นยังสืบมาถึงเครื่องคาดอย่าง เชือกหรือการ ผูกตะกรุด พิสมรซึ่งต้องรวมถึงเครื่องรางโบราณอีกชนิดที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีเกจิอาจารย์ สร้างก็คือ “ผ้าขอด” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพิรอดด้วยโดยผ้าขอดนั้นจะเป็นการขัด “พิรอด เดี่ยว” เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเรื่องผ้าขอดในยุคเก่าๆเช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จ.อยุธยา หลวงพ่อกวย ชุตินธโร จ.ชัยนาท เป็นต้น ในส่วนเครื่องรางผ้าขอดสายวัดสะแก จ.อยุธยา ก็มีชื่อเช่นกันแต่เป็นฆารวาส ที่ชื่อว่า เฮง ไพรวัลย์ ลอยเรืออยู่ท่าน้ำวัดสะแกบางคนเรียก ว่า อาจารย์เฮงเรือลอยก็มี
กลับไปที่หน้าแรก

สัก ยันต์, อาจารย์สัก, วิชาอาคม, ยันต์ทุกชนิด, ยันต์ตะกรุด, เสื้อยันต์, ผ้ายันต์ พระเครื่องง คงกรัพันชาตรี, ไสยศาสตร์, พุทธคุณ เกจิอาจารย์ พระฤษี108น สัตว์หิมพานต์ รามเกียรติ์